วันเสาร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

เรียงความเรื่อง สบายสบายในสวนพรรณไม้ป่า ๖๐พรรษามหาราชินี (ภาคใต้)


         
                สวนพรรณไม้ป่า๖๐ พรรษามหาราชินี ตั้งขึ้นในปี พ.ศ.๒๕๓๕ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนพรรษาครบ๖๐ พรรษาสวนพรรณไม้ป่า๖๐พรรษามหาราชินี ตั้งอยู่บริเวณที่ดินสาธารณประโยชน์ ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ ตำบลสุไหงปาดี อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส ตามบริเวณสวนพรรณไม้ป่า๖๐ พรรษามหาราชินีมีไม้ป่าขึ้นอยู่กระจัดกระจาย เช่นมะหาด เนียง แซะ หว้า เป็นต้นซึ้งส่วนมากล้วนเป็นพันธุ์ไม้ที่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้จักและหาพบได้ยาก


                ปัจจุบันสวนพรรณไม้๖๐ พรรษามหาราชินีมีพันธุ์มากกว่า๗๐๐ ชนิด หลายชนิดเป็นพืชเศรษฐกิจ สวนพรรณไม้พืชผักสมุนไพร บางชนิดเป็นไม้ที่หาดูได้ยากและบางชนิดก็กำลังจะสูญพันธุ์ สวนพรรณไม้ป่า๖๐ พรรษามหาราชินี ได้ให้บุคคลภายนอก และหน่วยงานการศึกษาสาต่างๆ ได้เข้าไปชมและศึกษาเรื่องราว เกี่ยวกับไม้ต่างๆ ที่ให้บุคคลภายนอกมาศึกษาเพิ่มเติมแล้วยังสามารถมาเที่ยวพักผ่อนที่นี่ได้อีกด้วย บรรยากาศในสวนพรรณไม้ป่า ๖๐ พรรษามหาราชินี สามารถ ทำให้บุคคลที่เข้ามาที่นี่ความเพลิดเพลิน นอกจากนี้พันธุ์ไม้ต่างๆแล้วยังมีกิจกรรมช่วยผ่อนคลาย ได้แก่ วาดรูป ถ่ายภาพพันธุ์ไม้สามารถช่วยผ่อนคลาย ความเหนื่อยล้าได้เนื่องจากในสวนพรรณไม้ป่า ฯ มีลมพัดผ่านพอให้รู้สึกดีกลับมา การเดินทางนั้นเป็นเส้นทางที่ไม่ซับซ้อนเท่าไหร่จึงทำให้คนที่มาที่นี้ไม่ลำบากในการเดินทางมากนักและยังสะดวก เพราะที่ตั้งที่นี้ตั้งอยู่ใกล้กลับแหล่งท่องเที่ยวหลายแห่ง เช่น ด่าสนชายอำเภอ สุไหงโกลก อุทยานแห่งชาติอ่าวมะนาว เขาตันหยง น้ำตกฉัตรวาริน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพฯ เป็นต้น ส่วนมากเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของจังหวัดอยู่พอสมควร ซึ่งคนในพื้นที่ส่วนมากจะรู้ดีว่าสวยงามเพียงใด



               สวนพรรณไม้๖๐ พรรษามหาราชินี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ควรต่อการรักษาเพราะสวนพรรณไม้ป่าฯที่รวมพรรณไม่ที่หาดูได้ยากมารวมไว้ที่นี้ดังนั้นสวนพรรณไม้ป่าฯจึงเป็นแหล่งท่องที่รวมที่มีคุณค่าต่อคนในจังหวัดนราธิวาส อย่างมากคนส่วนใหญ่จะมาเพื่อท่องเที่ยว พักผ่อนหย่อนใจแต่ถ้าเราลองมาศึกษาเกี่ยวกับพรรณไม่ดูแล้วเราจะได้คูนค่าทางจิตใจและการเรียนรู้เป็นอย่างมาก

วันอังคารที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

เรียงความเรื่อง อ่าวมะนาว เเหล่งท่องเที่ยวเเห่งเมืองนราธิวาส

(ครั้งที่2)

อ่าวมะนาว เเหล่งท่องเที่่ยวเเห่งเมืองนราธิวาส


              เที่ยงวันหนึ่ง มีเเต่ความวุ่นวายเกิดขึ้น การจราจรหนาเเน่น อาการร้อนอบอ้าว เเละอยู่ในช่วงปิดเทอม ช่างเป็นเวลาเหมาะมากกับการไปรับลมเบาๆ ที่อ่าวมะนาว พร้อมชมวิวทิวทัศน์ ดื่มดำกับธรรมชาติที่สวยงาม ไม่มีมลพิษปะปนอยู่ เเละสูบอาศของลมทะเล อ่าวมะนาวตั้งอยู่ในจังหวัด นราธิวาส
เเละเสน่ห์ของจังหวัดนราธิวาสก็คือ หาดทรายขาวสะอาด เเล้วยังมีสถานที่ท่องเที่ยวหลายเเหล่งอีกด้วย

               อ่าวมะนาวเป็นสถานที่สำคัญเเห่งหนึ่งของจังหวัดนราธิวาส และเป็นที่พักผ่อนของคนที่ชอบไปคลายเครียด  ชอบไปเที่ยว เเละเหมาะกับคนที่ต้องการไปไปฉลองในโอกาสต่างๆ เช่น วันเกิด วันหยุด เป็นต้น อ่าวมะนาวเป็นอุทยานแห่งชาติที่รวบรวมพื้นที่อุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติอย่างสวยงาม อ่าวมะนาวจะมีลักษณะเป็นหาดทรายสลับด้วโขดหิน ซึ่งหินส่วนใหญ่จะเป็นหินเเกรนนิก ส่วนบริเวณทัดขึ้นมาจากอ่าวมะนาวเป็นที่ราบเชิงเขา โดยเขาเเห่งนี้มีชื่อเรียกว่า เขาตันหยง เเละเขาเเห่งนี้มียอดความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 293 เมตร 
นอกจากนี้อ่าวมะนาวยังมีสถานที่ทำการอุทยานเเห่งชาติ อีกด้วย

ซึ่งมีลักษณะพื้นที่เป็นหาดทรายติดกับทะเลเเละเนินเขา เเละพันธ์ไม้ที่สำคัญของอ่าวมะนาวได้แก่ ทังใบใหญ่ เตยทะเล ไทรมะคะ ตีนนก กระทุ่มบก  เป็นต้น โดยอุทยานเเห่งชาติอ่าวมะนาวตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนพิเศษ 
                อ่าวมะนาวเป็นสถานที่รวบรวมความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ เเละรวบรวมความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์ ควบคู่กัน ซึ่งอ่าวมะนาวมีลักษณะเป็นหาดทรายสลับด้วยโขดหิน เเละหินส่วนที่อ่าวมะนาวเป็นหินเเกรนนิก ส่วนบริเวณทัดขึ้นมาจากอ่าวมะนาว จะเป็นที่ราบเชิงเขา ซึ่งเขาเเห่งนี้มีชื่อเรีียกว่าเขาตันหยง นอกจากนี้อ่าวมะนาวยังมีบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ  ซึ่งอ่าวมะนาวตั้งอยูในจังหวัดนราธิวาส ภาคใต้ ของประเทศไทย                   


http://www.youtube.com/watch?v=AK9UN8QxdK8

วันจันทร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2557


เรื่อง เศรษฐกิจในจังหวัดนราธวาส (ฉบับที่ ๒)

ตัวผมนี้เป็นมนุษย์คนหนึ่งที่อยู่ในจังหวัดนราธิวาส อำเภอ ระแงะ ตำบล ตันหยงมัส นี่แหละครับ และในวันนี้ผมก็จะมาเล่าเรื่อง เศรษฐกิจในจังหวัดนราธิวาส  เพราะตอนนี้เศรษฐกิจมันตกต่ำมาก พ่อกับแม่ก็เลยบอกผมว่า ตั้งใจเรียนหน่อยนะ เพราะ พ่อแม่ไม่มีอะไรจะให้ เพราะตอนนี้ เศรษฐกิจมันตกต่ำมาก ท่านก็เลยบอกผมว่าให้ตั้งใจเรียน เพราะนี่คือ สมบัติของพ่อและแม่ ครับ
เศรษฐกิจในจังหวัดนราธิวาส ที่มันตกต่ำก็เพราะ รัฐบาล นี่แหละครับ แล้วอยากรู้ไหมทำไมเขาต้องไปประท้วงกัน เพราะประชาชนไม่ชอบ รัฐบาลครับ เพราะ รัฐบาลนี้โกงกินประเทศจึงทำให้เศรษฐกิจตกต่ำ ทำให้เดือดร้อนกันทั้งประเทศ ยกตัวอย่างเช่น อาชีพทำสวน อาชีพทำสวนนี้ในความคิดของผมก็คือ กรีดยาง ครับ อาชีพกรีดยางนี้มันก็มีความเสี่ยงอยู่มากเลยทีเดียว เพราะ ไม่รู้ว่าเราจะโดนทำร้ายจากสถานการณ์ไม่สงบวันไหน และเดียวนี้ราคายางก็ถูกเหลือเกิน เพราะ พวกรัฐบาลนี่แหละครับ จึงทำให้ราคายางต่ำลงจนตอนนี้ราคายางก็ยังไม่ขึ้นเลยสงสารบ้างเถอะ พ่อแม่ก็เลยบอกผมว่า ตั้งใจเรียนนะเพราะความรู้คือสมบัติของพ่อและแม่ พ่อและแม่ก็บอกผมว่าตั้งใจเรียน เป็นเด็กดี ของพ่อแม่ครูอาจารย์ ก็พอแล้ว พ่อและแม่ก็บอกผมอีกเช่นกันว่าเรียนให้ดี เพราะ อนาคตข้างหน้ายังมีอีกไกล และ พ่อกับแม่ก็ขอให้อย่ามาทำอาชีพนี้เลย เพราะ มันทั้งเหนื่อยและก็เสี่ยงต่อสถานการณ์อีกด้วย พ่อกับแม่ก็อยากให้ลูกสบายกว่าพ่อกับแม่นี่แหละครับ
เศรษฐกิจในจังหวัดนราธิวาส ที่มันตกต่ำ เพราะรัฐบาลคดโกง พ่อแม่ก็บอกให้ตั้งใจเรียน มีทำงานที่ดีๆ ไม่ต้องมาทำอาชีพกรีดยาง และ มันก็เสี่ยงต่อสถานการณ์อีกด้วย 

วันศุกร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2557

เมืองนราของฉัน (ฉบับที่ ๒)

จังหวัดนราธิวาสก็มีสถานที่ท่องเที่ยวมากมาย และมีความสวยงามซึ่งไม่แพ้จังหวัดไหนเลยสถานที่ท่องเที่ยว เช่น น้ำตกซีโป น้ำตกปาโจ น้ำตกฉัตรวาริน หาดนราทัศน์ อ่าวมะนาว ป่าพรุโตะแดง เป็นต้นและมีความหลากหลายซึ่งผมเล่าได้ไม่หมดหรอกเพราะถ้าเล่าคงจะไม่ง่าย

น้ำตกซีโป
ผมเชื่อว่ามีหลายคนก็ไม่กล้ามาเที่ยวในจังหวัดนราธิวาสเพราะเสี่ยงว่าจะเป็นอันตราย แต่บางคนที่กล้ามาเที่ยวนั้นก็ได้ความหลากหลายที่ไม่เคยเห็นมาก่อน
ที่จริงแล้วผมไม่ใช่คนที่นี่หรอกแต่ผมก็รักภาคใต้ รักนราธิวาส เพราะมีสิ่งแวด ล้อมที่สวยงาม มีน้ำทะเลใส หาดทรายสวยงาม มีน้ำตกเย็นสะอาด มีป่าและต้นไม่ให้ความร่มรื่น อากาศดี ไม่มีมลพิษเหมือนในเมืองที่แออัด ที่สำคัญคือ คนในจังหวัดนราธิวาสเป็นคนดี มีน้ำใจ ชอบช่วยเหลือ จึงทำให้ผมรักที่นี่ถึงแม้ว่าผมไม่ได้เป็นคนที่นี่มาแต่ต้น
ป่าพรุโต๊ะแดง
ถ้าใครอยากจะมาเที่ยว ผมขอแนะนำให้มาท่องเที่ยวที่เมืองนราเพราะเมืองนราจะทำให้คุณมีความสุข และได้ดูสิ่งสวยงามของธรรมชาติแน่นอน                                                       

ด.ช.อนุพงษ์  เศษกลาง




                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                 



"กรือเซะ" มัสยิดที่โดนคำสาป (ฉบับที่ 2)




           มัสยิดกรือเซะ มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า 
มัสยิดปิตูกรือบัน ชื่อนี้เรียกตามรูปทรงของประตูมัสยิด ซึ่งมีลักษณะเป็นวงโค้งแหลมแบบกอธิคของชาวยุโรป และแบบสถาปัตยกรรมของชาวตะวันออกกลาง 

มุสลิมเสียใจต่อการกระทำครั้งนี้ของกองทัพสยามอย่างมาก แต่สงครามก็คือสงคราม ผู้ชนะย่อมต้องทำลายเมืองหรือศาสนสถานตลอดจนบ้านเรือนของผู้พ่ายแพ้สงคราม เพื่อไม่ตั้งตัวเป็นเสี้ยนหนามแผ่นดินในอนาคตได้ กองทัพพม่าได้เคยกระทำต่อกรุงศรีอยุธยาฉันท์ใด กองทัพสยามก็ได้ทำต่อปัตตานีฉันท์นั้น



เป็นเรื่องราวที่ได้สร้างความอัปยศให้กับสังคมมุสลิมนับตั้งแต่ได้มีประวัติศาสตร์อิสลามเกิดขึ้นมาในปัตตานี  ซึ่งพระองค์เข้ายอมรับในศาสนาอิสลาม และมีพระนามว่า สุลต่าน อิสมาแอล ชาห์ซึ่งตามประวัติศาสตร์แล้ว มัสยิดกรือเซ๊ะ ไม่ได้ถูกสร้างโดยลิ้มโต๊ะเคียม เหมือนกับตำนานของเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ที่ได้รับบอกเล่าต่อๆ กันมา หรือตามตำนานที่ได้ถูกบันทึก
และมัสยิดกรือเซ๊ะไม่ได้ถูกฟ้าผ่า เนื่องจากคำสาปแช่งของนางสาวลิ้มกอเหนี่ยวหรือหลิมกอเนี่ยว ที่ผูกคอตายที่ต้นมะม่วงหิมพานต์ริมชายหาดตันหยงลูโล๊ะ ดั่งที่ตำนานได้บอกกล่าวไว้ ที่ว่าเมื่อนางไม่สามารถชวน ลิ้มโต๊ะเคี่ยมหรือหลิมเต้าเคียน ผู้เป็นพี่ชายกลับเมืองจีนเพื่อไปดูแลแม่ที่ชราได้ นางจึงเกิดความน้อยเนื้อต่ำใจ ได้ตัดสินใจผูกคอตายกับต้นมะม่วงหิมพานต์ พร้อมทั้งได้อาฆาตพยาบาทต่อมัสยิดกรือเซะที่เป็นต้นเหตุให้พี่ชายไม่สามารถกลับเมืองจีนพร้อมกับนางได้ นางจึงได้ตั้งจิตอธิฐานว่า ขอให้มัสยิดหลังนี้มีอันเป็นไปในทุกๆครั้งที่มีการก่อสร้างหรือสร้างเสร็จ จากนั้นก็ได้มีฟ้าคะนองพร้อมกับได้ฟาดลงบนโดมมัสยิดพังพินาศเสียหาย ชาวมุสลิมต่างเกรงกลัวต่ออิทธิฤทธิ์ของนางลิ้มกอเหนี่ยวไม่กล้าที่จะกลับมาสร้างต่อ และครั้งใดก็ตามที่ชาวมุสลิมคิดที่จะบูรณะมัสยิดหลังนี้ เมื่อทำการบูรณะเสร็จก็จะโดนฟ้าผ่าทุกครั้งไป จนชาวมุสลิมไม่กล้าบูรณะมัสยิดหลังนี้อีกต่อไปและปล่อยให้มัสยิดรกร้างตั้งแต่นั้นมา ด้วยเพราะความเกรงกลัวต่ออำนาจอิทธิฤทธิ์ของนางสาวลิ้มกอเหนี่ยวหรือเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวในปัจจุบัน


 มัสยิดกรือเซ๊ะ หรือมัสยิดปินตูกรือบัง ได้ถูกกรมศิลปกรตีทะเบียนเป็นโบราณสถานและได้ทำการบูรณะอีกครั้งและในด้ทำการบูรณะอีกครั้งเนื่องในโอกาสสมโภชน์ กรุงรัตนโกสินทร์ ลิ้มโต๊ะเคี่ยมหรือหลิมเต้าเคียน เข้ามาในปัตตานี เมื่อประมาณปี ..2119 ในสมัยแผ่นดินสุลต่านบาฮาดูร์ ชาห์ โดยได้นำเรือสำเภามาจอดเทียบท่าที่ท่าเทียบเรือตันหยงลูโล๊ะ แต่ก็ไม่ปรากฏว่าลิ้มโต๊ะเคี่ยมหรือหลิมเต้าเคียนได้อภิเษกสมรสเจ้าหญิงคนไหนเลย

เรียงความเรื่อง พิกุลทอง” แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ตามรอยพ่อ (ฉบับที่ 2)

              ชายผู้หนึ่งเดินลุยน้ำ  ชายผู้หนึ่งมีเหงื่อไหล  ชายผู้หนึ่งฝ่าป่าดงพงไพร  ชายผู้หนึ่งทำงานหนักมากมาย  เพื่อประชาชนคนไทย  ชายผู้นั้นเป็นที่นับถือของประชาชน  ชายผู้นั้น คือ ในหลวง  พระองค์ทรงงานหนักเพื่อให้ประชาชนมีความสุขอย่างทั่วถึง  และอีกหนึ่งในงานที่พระองค์ทรงงานเพื่อประชาชนชาวใต้ คือ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ  จังหวัดนราธิวาส


                 ศูนย์ศึกษาพิกุลทองฯ นี้ตั้งอยู่ระหว่งบ้านพิกุลทองและบ้านโคกสยา  ตำบล กะลุวอเหนือ  อำเภอ  เมือง  จังหวัด  นราธิวาส    ด้ดำเนินการในพื้นที่ดินพรุ    261,860 ไร่ แบ่งเป็น เขตพัฒนา 96,015 ไร่  เขตอนุรักษ์10,938 ไร่   และ  เขตสงวน 56,907 ไร่    ศูนย์ศึกษาพิกุลทองฯจึงนับได้ว่าเป็นที่สุดแห่งหนึ่งของชาวภาคใต้   
        


                จากการที่ในหลวงได้ไปเยี่ยมเยียนประชาชนในเขตภาคใต้  ซึ่งพระองค์ได้พบว่าดินบริเวณพื้นที่ภาคใต้มีคุณภาพต่ำและมีดินเปรี้ยว ไม่สามารถเพาะปลูกได้   ส่งผลให้ประชาชนไม่มีรายได้   พระองค์จึงได้คิดค้นว่าควรสร้างสถานที่ที่ให้ประชาชนได้ศึกษาการพัฒนาดินเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน และเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชน  ต่อมาในวันที่ 18 สิงหาคม 2525 พระองค์ก็ได้สร้างศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ นี้ขึ้น
            
              นอกจากนี้ศูนย์ศึกษาการศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯยังมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นต้นแบบแห่งความสำเร็จในพื้นที่อื่น ทั้งในด้านการศึกษา  ค้นคว้า  พัฒนาดินเปรี้ยวและดินที่มีปัญหาอื่นๆ  ในพื้นที่ดินที่มีคุณภาพต่ำ     ส่งผลให้เกิดโครงการอื่นๆตามมา    เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางด้านการเกษตร      การประมง  การเลี้ยงสัตว์  การเกษตรอุตสาหกรรมที่มีความเหมาะสมกับพื้นที่ภาคใต้  เป็นต้น             
                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                   ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิ่งอนุรักษ์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพระราชดำริของในหลวง  และนับเป็นโครงการที่มีประโยชน์ และได้รับความสนใจจาก นักเรียน  นักศึกษา  อาจารย์  ตลอดจน ประชาชนทั่วไป  ศึกษาหาความรู้มากมาย   อีกทั้งยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งธรรมชาติ  รื่นรมที่น่าเที่ยวมากค่ะ       ลองไปเยี่ยมชมน่ะค่ะ
      


มัสยิด300ปี ศาสนสถานแห่งเมืองนราธิวาส (ฉบับที่ 2 )


                      มัสยิด 300 ปี หรือ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มัสยิด ตือโละมาเนาะ  มัสยิด 300 ปี ตั้งอยู่ที่จังหวัด นราธิวาสมัสยิด 300 ปี เป็น มัสยิดแห่งหนึงที่เป็นสถานที่ประกอบ ศาสนกิจ ของชาวไทยที่นับถือ ศาสนาอิสลามหลายชั่วอายุคนซึ่งนับว่ามีความสำคัญต่อชุมชนมาก  มัสยิดแห่งนี้สร้าง แบบศิลปะไทย พื้นเมืองประยุกต์กับศิลปะแบบจีนและศิลปะมลายู
                 

                    มัสยิด 300 ปี หรือ มัสยิด ตือโละมาเนาะ บ้านตือโละมาเนาะ ตำบลลูโบะสาวอ ตามทางหลวงเผ่นดิน
 หมายเลข 42  นาย วันฮูเซ็น อัส-สานาวี ผู้อยพมาจากบ้านสะนอยานยา จังหวัด ปัตตานี เป็นผู้สร้าง มัสยิดแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อ  พ..2167 เริ่ม สร้างคามุงใบลาน ต่อมาเปลี่ยนเป็นกระเบื้องดินเผา ลักษณะของ มัสยิด มีความแตกต่างจากมัสยิดทั่วไป  ส่วนเด่นที่สุดของอาคาร คือ เหนือหลังคา เหนือหลังคาจะมีฐานมารองรับจั่วบนหลังอยู่ชั้นหนึ่ง ส่วนหออาซาน ซึ่งมีลักษณะเป็นเก๋งจีนก็ตั้งอยู่บนหลังคาส่วนหลัง ส่วนช่องลม แกะเป็นลวดลายใบใม้ ดอกใม้สลับลายจีน หลังคาชั้นที่ 2 จะมีจั่วอยู่บน ชั้นหลังคาชั้นแรกมีฐานดอกพิกุลหงายรองรับจั่วหลังคาอีกชั้นหนึ่ง มีรูปแบบทรงไทย แบบหลังคาโบสถ์วัดทั่วๆไปรอบๆฐานดอกพิกุลหงาย จะแกะสลักเป็นลายเถาว์ ก้านมุมหลังคาด้านบนของอาคารทั้ง 2 หลัง ใช้ปูนปั้นป็นลายนกเถาว์ก้าน
นอกจากนั้นหมู่บ้าน ตือโละมาเนาะ ในอดีตยังเนผลิต คัมภีร์อัลกรุอ่าน ที่เขียนด้วยมือด้านข้างมัสยิด มีสุสานของชาวมุสลิม
ปัจจุบันมัสยิดนี้ยังใช้สถานที่ประกอบศาสนกิจของชาวมุสลิม

บริเวณภายในมัสยิด
                มัสยิด 300 ปี หรือ มัสยิด ตือโละมาเนาะ  เป็นมัสยิด มัสยิดแห่งหนึ่งที่เป็นสถานที่ประกอบ ศาสนกิจของชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลาม มใสยิดนี้ ซึ่งเป็นที่ยกย่องของคนทั้งประเทศ และมัสยิดนี้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวอีส่วนหนึ่งจังหวัดนราธิวาส