แผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย
รายวิชา ท ๒๒๑๐๑ ภาษาไทย ๓
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่
๒
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒ สร้างสรรค์งานเขียน เรื่องการเขียนเรียงความผ่านเว็บบล็อก
เวลาสอน ๓ ชั่วโมง ผู้สอนครูเพ็ญศรี แทนหนู
มาตรฐาน
ท. ๒.๑
ใช้กระบวนการเขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ ย่อความ และเขียนเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ
เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด
มาตรฐานที่
๒ ตัวชี้วัดที่ ๒/๓ เขียนเรียงความได้
มาตรฐานที่
๒ ตัวชี้วัดที่ ๒/๘ มีมารยาทในการเขียน
จุดประสงค์การเรียนรู้
๑. บอกองค์ประกอบของเรียงความได้
๒.
บอกกระบวนการเขียนเรียงความได้
๓.
เขียนโครงเรื่องเรียงความตามหัวข้อที่กำหนดให้ได้
๔.
เลือกสรรถ้อยคำที่จะนำมาเขียนเรียงความได้
๕.
เขียนเรียงความเกี่ยวกับเรื่องเล่าประสบการณ์ผ่านเว็บบล็อกได้
สาระสำคัญ
เรียงความเป็นการเสนอความคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมที่ผู้เขียนสนใจและมีความรู้ในเรื่องนั้นดีที่สุด
มาเรียบเรียงอย่างแจ่มแจ้ง ชัดเจน น่าอ่าน น่าสนใจ โดยอาศัยข้อเท็จจริง ความคิด
จินตนาการของผู้เขียน
เนื้อเรื่องที่จะเขียนเรียงความต้องมีขอบข่ายและความมุ่งหมายเฉพาะ ไม่กล่าวผิวเผิน
มีตัวอย่างรายละเอียดต่างๆ สนับสนุนความคิดเห็นของผู้เขียน สิ่งสำคัญคือ
ต้องมีข้อเท็จจริง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญ
สาระการเรียนรู้
๑. ความหมายของเรียงความ
๒. องค์ประกอบของเรียงความ
๓. กระบวนการเขียนเรียงความ
๔. การวางโครงเรื่องในการเขียนเรียงความ
๕. การสรรคำใช้
๖. การเขียนเรียงความเกี่ยวกับเรื่องที่กำหนด
๗.
ตัวอย่างเรียงความที่ดีและได้รับรางวัล
(ค้นหาจากอินเทอร์เน็ต)
ชั่วโมงที่ ๑ แนะนำกระบวนการเรียนรู้ด้วยเว็บบล็อกของผู้สอน
|
|
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
|
|
สื่อ/แหล่งเรียนรู้:
๑) เว็บบล็อกของผู้สอน Gmail ของผู้สอนและผู้เรียน ๒) แบบทดสอบก่อนเรียน จำนวน ๒ ฉบับ |
คำถามกระตุ้นความคิด
|
๑.
ผู้สอนให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน ๒ ฉบับ คือ
ฉบับที่ ๑ เรื่อง ความรู้และทักษะการใช้ ICT สำหรับ การเรียนรู้ (๑๐ ข้อ)
ฉบับที่ ๒
เรื่อง การเขียนเรียงความ (๑๐ ข้อ)
|
๑.
นักเรียนเคยใช้คอมพิวเตอร์หรืออินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้หรือไม่
ถ้าเคยใช้ทำอะไร ให้ยกตัวอย่าง
|
ขั้นสอน
|
|
สื่อ/แหล่งเรียนรู้
๑) เว็บบล็อกของผู้สอน ๒) Gmail ของผู้สอนและผู้เรียน |
คำถามกระตุ้นความคิด
|
๑.
ผู้สอนให้ผู้เรียนแจ้งชื่อที่อยู่ Gmail
โดยการส่งอีเมลถึงผู้สอนจากนั้น ผู้สอนจัดกลุ่มเมลเพื่อความสะดวกในการติดต่อและส่งข่าวสารไปให้ผู้เรียนทั้งกลุ่ม
๒. ผู้สอนเพิ่มชื่อผู้เรียนในเว็บบล็อกและบอกผู้เรียนถึงวิธีการตอบรับเป็นผู้เขียนในเว็บบล็อกโดยการเปิดอีเมลเพื่อยืนยัน
๓.
ผู้สอนแนะนำที่อยู่เว็บบล็อกสำหรับจัดการเรียนรู้และวิธีการเข้าใช้เว็บบล็อกการทดลองเปิดเนื้อหาในหน้าเว็บของบล็อก
๔. ผู้สอน แจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้และรูปแบบการเรียนรู้ตามแผนการเรียนรู้
๕.
ผู้สอนแนะนำวิธีการเขียนบทความหรือโพสต์เรื่องรวมในเว็บบล็อกของผู้สอน
๖.
ผู้สอนสร้างกลุ่ม “ภาษาไทย ม.๒” ใน Facebook
และให้
ผู้เรียนสมัครของเป็นเพื่อนในกลุ่มนี้ เพื่อใช้ในการสื่อสารและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
๗.
ผู้สอนแนะนำวิธีการแชร์เรื่องราวในเว็บบล็อกไปเผยแพร่ที่ Facebook ของกลุ่มที่ผู้สอนกำหนดไว้
|
๑.
นักเรียนคนใดมีอีเมลที่เป็นบริการของ Gmail
แล้วบ้าง ถ้าใครยังไม่มีให้สมัครแล้วส่งอีเมลมาถึงผู้สอน
โดยมีที่อีเมลของผู้สอนคือ ………………………………
๒.
นักเรียนคนใดมีบัญชีของ Facebook แล้ว
จะค้นหาชื่อผู้ใช้ของครูให้พบได้อย่างไร และขอเป็นเพื่อนได้อย่างไร
๓.
กรณีคนใดยังไม่มีบัญชีของ Facebook
มีวิธีการสมัครอย่างไร
เพื่อนคนใดแนะนำขั้นตอนสมัครให้เพื่อนได้บ้าง
|
ขั้นสรุป
|
|
สื่อ/แหล่งเรียนรู้
๑) เว็บบล็อกของผู้สอน และGmail ของผู้สอนและผู้เรียน |
คำถามกระตุ้นความคิด
|
๑.
ผู้สอนสรุปขั้นตอนการเข้าใช้เว็บบล็อก และการเขียนเรื่องหรือบทความในเว็บบล็อกของผู้สอน
๒.
ผู้สอนให้ผู้เรียนทดลองเขียนเรื่องในเว็บบล็อกของผู้สอนผู้สอน โดยให้ผู้เรียนเขียนแนะนำประวัติส่วนตัวของผู้เรียนพร้อมแทรกภาพหรือวีดิทัศน์ประกอบ
|
๑.
ถ้าจะเข้าใช้เว็บบล็อกของครู มีขั้นตอนอย่างไร
๒.
ถ้าต้องการเขียนเรื่อง (บทความ) ลงในเว็บบล็อกของครูจะทำอย่างไร
|
ชั่วโมงที่ ๒ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเขียนเรียงความ
|
|
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
|
|
สื่อ/แหล่งเรียนรู้:
๑) เว็บบล็อกของผู้สอน และ Gmail ของผู้สอนและผู้เรีย |
คำถามกระตุ้นความคิด
|
๑.
ผู้สอนทบทวนขั้นตอนการเข้าใช้เว็บบล็อกของผู้สอน
๒. ผู้สอนประกาศให้ทราบว่าผู้เรียนคนใดบ้างที่เสนอประวัติ
ในเว็บบล็อกแล้ว ใครบ้างที่ยังไม่เสนอประวัติ ให้ดำเนินการให้เรียบร้อย เพื่อตรวจสอบว่าสามารถโพสต์ในเว็บบล็อกได้ |
๑.
ใครจำขั้นตอนการเข้าใช้เว็บบล็อกของครูได้บ้าง อธิบาย และทดลองให้ทุกคนเข้าใช้เว็บบล็อกของครู
|
ขั้นสอน
|
|
สื่อ/แหล่งเรียนรู้
๑) เว็บบล็อกของผู้สอน และ Gmail ของผู้สอนและผู้เรียน ๒) ใบความรู้ที่ ๑ เรื่อง ความรู้เกี่ยวกับเรียงความ ๓) ใบงานที่ ๑ เรื่อง เรียงความเชิงสร้างสรรค์ |
คำถามกระตุ้นความคิด
|
๑.
ผู้สอนให้ผู้เขียนศึกษาใบความรู้ที่ ๑ เรื่อง ความรู้เกี่ยวกับเรียงความ
๒. ผู้สอนให้ผู้เรียนร่วมกันอภิปรายความหมายของเรียงความ
และผู้สอนสรุปความหมายของการเขียนเรียงความ
๓.
ผู้สอนให้ผู้เรียนร่วมกันอภิปรายประเภทของเรียงความ
และผู้สอนสรุปและยกตัวอย่างประเภทของเรียงความ
๔. ผู้สอนให้ผู้เรียนอภิปรายองค์ประกอบของเรียงความ
และผู้สอนสรุปและยกตัวอย่างประเภทของเรียงความ
๕.
ผู้สอนยกตัวอย่างเรียงความ ชี้ให้เห็นส่วนที่เป็นคำนำ
เนื้อเรื่องหรือเนื้อความ และส่วนที่เป็นสรุป
๖. ให้นักเรียนทำกิจกรรม ใบงานที่ ๑ เรียงความอย่างสร้างสรรค์
|
๑.ใครตอบได้บ้างว่าเรียงความคืออะไร
ถ้าหากไม่มีใครไม่รู้ให้ค้นหาในอินเทอร์เน็ตเพื่อตอบได้
๒.
นักเรียนคิดว่า เรียงความควรจะมีประเภทใดบ้าง
๓.
ส่วนประกอบของเรียงความ ๑ เรื่อง ประกอบด้วยสิ่งใดบ้าง
|
ขั้นสรุป
|
|
สื่อ/แหล่งเรียนรู้
๑) เว็บบล็อกของผู้สอน และ Gmail ของผู้สอนและผู้เรียน
๒) ใบงานที่ ๑ เรื่อง เรียงความเชิงสร้างสรรค์
|
คำถามกระตุ้นความคิด
|
๑.
ผู้สอนใช้คำถามเพื่อสรุปเนื้อหาเกี่ยวกับความหมายของเรียงความ
ประเภทของเรียงความ องค์ประกอบของเรียงความ
๒.
ผู้สอนให้ผู้เรียนศึกษาใบความรู้ที่ ๑ ทบทวนเนื้อหา และศึกษาใบงานที่ ๑
เพื่อสืบค้นและจัดเตรียมข้อมูลเกี่ยวข้องและที่สนใจสำหรับการเขียนเรียงความตามรายละเอียดในใบงานที๑
ในการเรียนครั้งต่อไป
|
๑.
สรุปแล้ว เรียงความคืออะไร มีประเภทใดบ้าง
๒.
เรียงความมีองค์ประกอบสำคัญกี่ส่วน ประกอบด้วยอะไรบ้าง
๒.
หลังจากอ่านรายละเอียดในใบงานที่ ๑ เรื่อง เรียงความเชิงสร้างสรรค์ แล้ว
ถ้าต้องการเขียนเรียงความลงในเว็บบล็อกของครูจะทำอย่างไร |
ชั่วโมงที่ ๓เทคนิคการเขียนเรียงความ
|
|
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
|
|
สื่อ/แหล่งเรียนรู้:
๑) เว็บบล็อกของผู้สอน และ Gmail ของผู้สอนและผู้เรีย |
คำถามกระตุ้นความคิด
|
๑.
ผู้สอนทบทวนขั้นตอนการเข้าใช้เว็บบล็อกของผู้สอน
๒. ผู้สอนใช้คำถามเพื่อทบทวนเนื้อหาเกี่ยวกับความหมาย
ของเรียงความ ประเภทของเรียงความ และองค์ประกอบของเรียงความ |
๑.
ใครตอบได้ว่าเรียงความคืออะไร
๒.
ใครสามารถอธิบายได้ว่าเรียงความ
มีประเภทใดบ้าง
๓.
องค์ประกอบของเรียงความมีอะไรบ้าง
|
ขั้นสอน
|
|
สื่อ/แหล่งเรียนรู้
๑) เว็บบล็อกของผู้สอน และ Gmail ของผู้สอนและผู้เรียน ๒) ใบความรู้ที่ ๒ เรื่อง เทคนิคการเขียนเรียงความที่ดี |
คำถามกระตุ้นความคิด
|
๑.
ผู้สอนให้ผู้เรียนร่วมอภิปรายถึง ลักษณะเรียงความที่ดี
แล้วผู้สอนสรุปลักษณะเรียงความที่ดีให้ผู้เรียนเข้าใจ
๒. ผู้สอนให้ผู้เรียนร่วมอภิปรายถึง แนวทาง การเลือกเรื่องการตั้งชื่อเรื่อง
และเลือกประเภทเรื่องที่จะเขียน แล้วสรุปเป็นประเด็นให้ผู้เรียนเห็นอย่างชัดเจน
๓.
ผู้สอนอธิบายวิธีการและเทคนิค การวางโครงเรื่องก่อนเขียนเรียงความ
๔. ผู้สอนอธิบายถึงความหมายของ ย่อหน้าและการเขียน
ย่อหน้าที่ดี ที่ต้องมี เอกภาพ สัมพันธภาพ และสารัตถภาพ โดยครูต้องอธิบายเพิ่มเติมถึงความหมายของคำว่า เอกภาพ สัมพันธ์ภาพ และสารัตถภาพ
๕.
ผู้สอนอธิบายถึงหลักการ การเชื่อมโยงย่อหน้า ที่ดี
๖.
ผู้สอนอธิบายถึงหลักการใช้ สำนวนภาษา ในการเขียนเรียงความ
๗.
ผู้สอนอธิบายถึงหลักการใช้ หมายเลขกำกับ การแบ่งวรรค์ตอน
และเครื่องหมายวรรคตอน ในการเขียนเรียงความ
๖. ให้นักเรียนทำกิจกรรม ใบงานที่ ๑
การเขียนเรียงความเชิงสร้างสรรค์
ต่อเนื่องจากครั้งที่ผ่านมา
|
๑.
ใครรู้บ้างว่าลักษณะเรียงความที่ดีเป็นอย่างไร
๒.
สรุปแล้ว โครงเรื่องของเรียงความ
มีประโยชน์อย่างไร
๓.
ย่อหน้าที่ดีมีลักษณะอย่างไร
|
ขั้นสรุป
|
|
สื่อ/แหล่งเรียนรู้
๑) เว็บบล็อกของผู้สอน และ Gmail ของผู้สอนและผู้เรียน
๒) ใบงานที่ ๑ เรื่อง การเขียนเรียงความเชิงสร้างสรรค์
|
คำถามกระตุ้นความคิด
|
๑.
ผู้สอนใช้คำถามเพื่อเป็นการสรุปเนื้อหาเกี่ยวกับเนื้อหาต่างๆ
ที่เรียนในชั่วโมง
๒.
ผู้สอนมอบหมายให้ผู้เรียนทำกิจกรรม ใบงานที่ ๑
การเขียนเรียงความเชิงสร้างสรรค์ เป็นงานที่มอบหมายให้เป็นการบ้านส่งเรียงความโดยการเขียนเรียงความในเว็บบล็อกของผู้สอน |
๑.
การเลือกเรื่องสำหรับเขียนเรียงความ ต้องพิจารณาสิ่งใดบ้าง
๒.
การเขียนเรียงความที่ดี ควรวางโครงเรื่องอย่างไร
๓.
การเขียนย่อหน้าที่ในเรียงความ มีหลักอย่างไรบ้าง
๔.
สำหรับการเขียนเรียงความคำว่า เอกภาพ สัมพันธภาพ และสารัตถภาพ
หมายถึงอะไรบ้าง
|
ชั่วโมงที่ ๔การประเมินและข้อแนะนำเพื่อพัฒนาการเขียนเชิงสร้างสรรค์ผ่านเว็บบล็อก
|
|
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
|
|
สื่อ/แหล่งเรียนรู้:
๑) เว็บบล็อกของผู้สอน และ Gmail ของผู้สอนและผู้เรีย |
คำถามกระตุ้นความคิด
|
๑.
ผู้สอนเขียนประกาศหรือโพสต์เตือนให้ผู้เรียน
ลงมือเขียนเรียงความและส่งตามกำหนดในเว็บบล็อก
๒. ผู้สอนโพสต์เรื่องราวอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
|
-
|
ขั้นสอน
|
|
สื่อ/แหล่งเรียนรู้
๑) เว็บบล็อกของผู้สอน และ Gmail ของผู้สอนและผู้เรียน ๒) ใบความรู้ที่ ๒ เรื่อง เทคนิคการเขียนเรียงความที่ดี |
คำถามกระตุ้นความคิด
|
๑.
ผู้สอนประเมินและให้คะแนนผลงานการเขียนเรียงความ
เชิงสร้างสรรค์ ครั้งที่ ๑ พร้อมให้ข้อแนะนำเรียงความ แต่ละเรื่อง
(หลังจากนั้นเว้น ๑ สัปดาห์ เพื่อให้ผู้เรียนปรับปรุงผลงาน)
๒. ผู้สอนประเมินและให้คะแนนผลงานการเขียนเรียงความ
เชิงสร้างสรรค์ ครั้งที่ ๒ พร้อมให้ข้อแนะนำเรียงความ แต่ละเรื่อง
(หลังจากนั้นเว้น ๑ สัปดาห์ เพื่อให้ผู้เรียนปรับปรุงผลงาน)
๓.
ผู้ประเมินคะแนนผลงานการเขียนเรียงความ
เชิงสร้างสรรค์ ครั้งที่ ๓(เป็นการประเมินขั้นสุดท้าย) |
-
|
ขั้นสรุป
|
|
สื่อ/แหล่งเรียนรู้
๑) เว็บบล็อกของผู้สอน และ Gmail ของผู้สอนและผู้เรียน
๒) ใบงานที่ ๑ เรื่อง
การเขียนเรียงความเชิงสร้างสรรค์
|
คำถามกระตุ้นความคิด
|
๑.
ผู้สอนประกาศคะแนนผลการประเมินใบงานที่ ๑ ทั้ง๓ ครั้งผ่านเว็บบล็อก
ทั้งกลุ่มเรียนเพื่อให้ผู้เรียนทุกคนรับรู้พัฒนาการของตนเอง
๒.
ผู้สอนให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน ๒ ฉบับ คือ
ฉบับที่ ๑ความรู้และทักษะการใช้ ICT สำหรับการเรียนรู้
(๑๐ ข้อ)
ฉบับที่ ๒เรื่อง การเขียนเรียงความ
(๑๐ ข้อ)
๓. ผู้สอนให้ผู้เรียนทำแบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนผ่านเว็บบล็อก
|
-
|
สื่อการเรียนการเรียนรู้
๑. เว็บบล็อกของผู้สอนที่เผยแพร่ไว้ที่ http://krupensri.blogspot.com
๒. แบบทดสอบความรู้ก่อน-หลังเรียน เรื่อง ความรู้และทักษะการใช้ ICT
เพื่อการเรียนรู้
จำนวน ๑๐ ข้อ
๓. แบบทดสอบความรู้ก่อน-หลังเรียน เรื่อง การเขียนเรียงความ จำนวน ๑๐
ข้อ
๔. ใบความรู้ที่ ๑ เรื่อง ความรู้เกี่ยวกับการเขียนเรียงความ
(เผยแพร่ในเว็บบล็อก)
๖. ใบงานที่ ๑ เรื่อง
การเขียนเรียงความเชิงสร้างสรรค์
(คะแนนเต็ม ๒๐ คะแนน)
๗. แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้ (แบบ 5 ระดับ)
๘.
แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติมในอินเทอร์เน็ตที่เกี่ยวข้อง
(แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติมเผยแพร่ในเว็บบล็อก)
๙. คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้
๑. สิ่งที่จะวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้
๑.๑
จุดประสงค์การเรียนรู้ เรื่อง การเขียนเรียงความ
๑.๒
ผลการปฏิบัติกิจกรรมใน ใบงานที่ ๑
การเขียนเรียงความเชิงสร้างสรรค์
๒. วิธีการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้
๒.๑ ทดสอบตามวัตถุประสงค์ด้วยแบบทดสอบแบบตัวเลือก
จำนวน ๑๐ ข้อ
๒.๓ ตรวจผลการปฏิบัติกิจกรรมใบงานที่ ๑ การเขียนเรียงความเชิงสร้างสรรค์
ด้วยแบบประเมินผลการเขียนเรียงความ
ด้วยแบบประเมินผลการเขียนเรียงความ
๓. เครื่องมือวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ ๓.๑ แบบทดสอบความรู้ก่อน-หลังเรียน เรื่อง ความรู้และทักษะการใช้ ICT
เพื่อการเรียนรู้
จำนวน ๑๐ ข้อ
๓.๒
แบบทดสอบความรู้ก่อน-หลังเรียน เรื่อง การเขียนเรียงความ จำนวน ๑๐ ข้อ
๓.๓
แบบประเมินผลการเขียนเรียงความคะแนนเต็ม ๓๐ คะแนน
๓.๔
แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้ (แบบ 5 ระดับ มากที่สุด 5
คะแนน มาก 4 คะแนน ปานกลาง 3 คะแนน น้อย 2 คะแนน น้อยที่สุด 1 คะแนน)
๔. เกณฑ์การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้
๔..๑ เกณฑ์การวัดผล
๔.๑.๑ ให้คะแนนจากข้อทดสอบ ข้อถูกให้
๑ คะแนนข้อผิดได้ ๐
คะแนน
๔..๒ เกณฑ์และการให้คะแนนการเขียนเรียงความ ดังนี้
๔.๑.๑ การวางโครงเรื่อง
๔.๑.๒ การเขียนคำนำ
๔.๑.๓ การเสนอเนื้อเรื่อง
๔.๑.๔ การสรุปเรื่อง
๔.๑.๕ การใช้ถ้อยคำสำนวนภาษาเหมาะสมกับเนื้อเรื่อง
๔.๑.๖ การมีเอกภาพสัมพันธภาพของเรื่อง
มีภาพหรือวีดิทัศน์ที่ใช้สัมพันธ์กับเนื้อหา
ให้คะแนนแต่ละรายการดังนี้
- ดีมาก ๕ คะแนน
- ดี ๔ คะแนน
- พอใช้ ๓ คะแนน
- ปรับปรุง ๒ คะแนน
- ปรับปรุงมาก ๑ คะแนน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น