วันศุกร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2557

เมืองนราของฉัน (ฉบับที่ ๒)

จังหวัดนราธิวาสก็มีสถานที่ท่องเที่ยวมากมาย และมีความสวยงามซึ่งไม่แพ้จังหวัดไหนเลยสถานที่ท่องเที่ยว เช่น น้ำตกซีโป น้ำตกปาโจ น้ำตกฉัตรวาริน หาดนราทัศน์ อ่าวมะนาว ป่าพรุโตะแดง เป็นต้นและมีความหลากหลายซึ่งผมเล่าได้ไม่หมดหรอกเพราะถ้าเล่าคงจะไม่ง่าย

น้ำตกซีโป
ผมเชื่อว่ามีหลายคนก็ไม่กล้ามาเที่ยวในจังหวัดนราธิวาสเพราะเสี่ยงว่าจะเป็นอันตราย แต่บางคนที่กล้ามาเที่ยวนั้นก็ได้ความหลากหลายที่ไม่เคยเห็นมาก่อน
ที่จริงแล้วผมไม่ใช่คนที่นี่หรอกแต่ผมก็รักภาคใต้ รักนราธิวาส เพราะมีสิ่งแวด ล้อมที่สวยงาม มีน้ำทะเลใส หาดทรายสวยงาม มีน้ำตกเย็นสะอาด มีป่าและต้นไม่ให้ความร่มรื่น อากาศดี ไม่มีมลพิษเหมือนในเมืองที่แออัด ที่สำคัญคือ คนในจังหวัดนราธิวาสเป็นคนดี มีน้ำใจ ชอบช่วยเหลือ จึงทำให้ผมรักที่นี่ถึงแม้ว่าผมไม่ได้เป็นคนที่นี่มาแต่ต้น
ป่าพรุโต๊ะแดง
ถ้าใครอยากจะมาเที่ยว ผมขอแนะนำให้มาท่องเที่ยวที่เมืองนราเพราะเมืองนราจะทำให้คุณมีความสุข และได้ดูสิ่งสวยงามของธรรมชาติแน่นอน                                                       

ด.ช.อนุพงษ์  เศษกลาง




                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                 



"กรือเซะ" มัสยิดที่โดนคำสาป (ฉบับที่ 2)




           มัสยิดกรือเซะ มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า 
มัสยิดปิตูกรือบัน ชื่อนี้เรียกตามรูปทรงของประตูมัสยิด ซึ่งมีลักษณะเป็นวงโค้งแหลมแบบกอธิคของชาวยุโรป และแบบสถาปัตยกรรมของชาวตะวันออกกลาง 

มุสลิมเสียใจต่อการกระทำครั้งนี้ของกองทัพสยามอย่างมาก แต่สงครามก็คือสงคราม ผู้ชนะย่อมต้องทำลายเมืองหรือศาสนสถานตลอดจนบ้านเรือนของผู้พ่ายแพ้สงคราม เพื่อไม่ตั้งตัวเป็นเสี้ยนหนามแผ่นดินในอนาคตได้ กองทัพพม่าได้เคยกระทำต่อกรุงศรีอยุธยาฉันท์ใด กองทัพสยามก็ได้ทำต่อปัตตานีฉันท์นั้น



เป็นเรื่องราวที่ได้สร้างความอัปยศให้กับสังคมมุสลิมนับตั้งแต่ได้มีประวัติศาสตร์อิสลามเกิดขึ้นมาในปัตตานี  ซึ่งพระองค์เข้ายอมรับในศาสนาอิสลาม และมีพระนามว่า สุลต่าน อิสมาแอล ชาห์ซึ่งตามประวัติศาสตร์แล้ว มัสยิดกรือเซ๊ะ ไม่ได้ถูกสร้างโดยลิ้มโต๊ะเคียม เหมือนกับตำนานของเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ที่ได้รับบอกเล่าต่อๆ กันมา หรือตามตำนานที่ได้ถูกบันทึก
และมัสยิดกรือเซ๊ะไม่ได้ถูกฟ้าผ่า เนื่องจากคำสาปแช่งของนางสาวลิ้มกอเหนี่ยวหรือหลิมกอเนี่ยว ที่ผูกคอตายที่ต้นมะม่วงหิมพานต์ริมชายหาดตันหยงลูโล๊ะ ดั่งที่ตำนานได้บอกกล่าวไว้ ที่ว่าเมื่อนางไม่สามารถชวน ลิ้มโต๊ะเคี่ยมหรือหลิมเต้าเคียน ผู้เป็นพี่ชายกลับเมืองจีนเพื่อไปดูแลแม่ที่ชราได้ นางจึงเกิดความน้อยเนื้อต่ำใจ ได้ตัดสินใจผูกคอตายกับต้นมะม่วงหิมพานต์ พร้อมทั้งได้อาฆาตพยาบาทต่อมัสยิดกรือเซะที่เป็นต้นเหตุให้พี่ชายไม่สามารถกลับเมืองจีนพร้อมกับนางได้ นางจึงได้ตั้งจิตอธิฐานว่า ขอให้มัสยิดหลังนี้มีอันเป็นไปในทุกๆครั้งที่มีการก่อสร้างหรือสร้างเสร็จ จากนั้นก็ได้มีฟ้าคะนองพร้อมกับได้ฟาดลงบนโดมมัสยิดพังพินาศเสียหาย ชาวมุสลิมต่างเกรงกลัวต่ออิทธิฤทธิ์ของนางลิ้มกอเหนี่ยวไม่กล้าที่จะกลับมาสร้างต่อ และครั้งใดก็ตามที่ชาวมุสลิมคิดที่จะบูรณะมัสยิดหลังนี้ เมื่อทำการบูรณะเสร็จก็จะโดนฟ้าผ่าทุกครั้งไป จนชาวมุสลิมไม่กล้าบูรณะมัสยิดหลังนี้อีกต่อไปและปล่อยให้มัสยิดรกร้างตั้งแต่นั้นมา ด้วยเพราะความเกรงกลัวต่ออำนาจอิทธิฤทธิ์ของนางสาวลิ้มกอเหนี่ยวหรือเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวในปัจจุบัน


 มัสยิดกรือเซ๊ะ หรือมัสยิดปินตูกรือบัง ได้ถูกกรมศิลปกรตีทะเบียนเป็นโบราณสถานและได้ทำการบูรณะอีกครั้งและในด้ทำการบูรณะอีกครั้งเนื่องในโอกาสสมโภชน์ กรุงรัตนโกสินทร์ ลิ้มโต๊ะเคี่ยมหรือหลิมเต้าเคียน เข้ามาในปัตตานี เมื่อประมาณปี ..2119 ในสมัยแผ่นดินสุลต่านบาฮาดูร์ ชาห์ โดยได้นำเรือสำเภามาจอดเทียบท่าที่ท่าเทียบเรือตันหยงลูโล๊ะ แต่ก็ไม่ปรากฏว่าลิ้มโต๊ะเคี่ยมหรือหลิมเต้าเคียนได้อภิเษกสมรสเจ้าหญิงคนไหนเลย

เรียงความเรื่อง พิกุลทอง” แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ตามรอยพ่อ (ฉบับที่ 2)

              ชายผู้หนึ่งเดินลุยน้ำ  ชายผู้หนึ่งมีเหงื่อไหล  ชายผู้หนึ่งฝ่าป่าดงพงไพร  ชายผู้หนึ่งทำงานหนักมากมาย  เพื่อประชาชนคนไทย  ชายผู้นั้นเป็นที่นับถือของประชาชน  ชายผู้นั้น คือ ในหลวง  พระองค์ทรงงานหนักเพื่อให้ประชาชนมีความสุขอย่างทั่วถึง  และอีกหนึ่งในงานที่พระองค์ทรงงานเพื่อประชาชนชาวใต้ คือ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ  จังหวัดนราธิวาส


                 ศูนย์ศึกษาพิกุลทองฯ นี้ตั้งอยู่ระหว่งบ้านพิกุลทองและบ้านโคกสยา  ตำบล กะลุวอเหนือ  อำเภอ  เมือง  จังหวัด  นราธิวาส    ด้ดำเนินการในพื้นที่ดินพรุ    261,860 ไร่ แบ่งเป็น เขตพัฒนา 96,015 ไร่  เขตอนุรักษ์10,938 ไร่   และ  เขตสงวน 56,907 ไร่    ศูนย์ศึกษาพิกุลทองฯจึงนับได้ว่าเป็นที่สุดแห่งหนึ่งของชาวภาคใต้   
        


                จากการที่ในหลวงได้ไปเยี่ยมเยียนประชาชนในเขตภาคใต้  ซึ่งพระองค์ได้พบว่าดินบริเวณพื้นที่ภาคใต้มีคุณภาพต่ำและมีดินเปรี้ยว ไม่สามารถเพาะปลูกได้   ส่งผลให้ประชาชนไม่มีรายได้   พระองค์จึงได้คิดค้นว่าควรสร้างสถานที่ที่ให้ประชาชนได้ศึกษาการพัฒนาดินเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน และเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชน  ต่อมาในวันที่ 18 สิงหาคม 2525 พระองค์ก็ได้สร้างศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ นี้ขึ้น
            
              นอกจากนี้ศูนย์ศึกษาการศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯยังมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นต้นแบบแห่งความสำเร็จในพื้นที่อื่น ทั้งในด้านการศึกษา  ค้นคว้า  พัฒนาดินเปรี้ยวและดินที่มีปัญหาอื่นๆ  ในพื้นที่ดินที่มีคุณภาพต่ำ     ส่งผลให้เกิดโครงการอื่นๆตามมา    เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางด้านการเกษตร      การประมง  การเลี้ยงสัตว์  การเกษตรอุตสาหกรรมที่มีความเหมาะสมกับพื้นที่ภาคใต้  เป็นต้น             
                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                   ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิ่งอนุรักษ์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพระราชดำริของในหลวง  และนับเป็นโครงการที่มีประโยชน์ และได้รับความสนใจจาก นักเรียน  นักศึกษา  อาจารย์  ตลอดจน ประชาชนทั่วไป  ศึกษาหาความรู้มากมาย   อีกทั้งยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งธรรมชาติ  รื่นรมที่น่าเที่ยวมากค่ะ       ลองไปเยี่ยมชมน่ะค่ะ
      


มัสยิด300ปี ศาสนสถานแห่งเมืองนราธิวาส (ฉบับที่ 2 )


                      มัสยิด 300 ปี หรือ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มัสยิด ตือโละมาเนาะ  มัสยิด 300 ปี ตั้งอยู่ที่จังหวัด นราธิวาสมัสยิด 300 ปี เป็น มัสยิดแห่งหนึงที่เป็นสถานที่ประกอบ ศาสนกิจ ของชาวไทยที่นับถือ ศาสนาอิสลามหลายชั่วอายุคนซึ่งนับว่ามีความสำคัญต่อชุมชนมาก  มัสยิดแห่งนี้สร้าง แบบศิลปะไทย พื้นเมืองประยุกต์กับศิลปะแบบจีนและศิลปะมลายู
                 

                    มัสยิด 300 ปี หรือ มัสยิด ตือโละมาเนาะ บ้านตือโละมาเนาะ ตำบลลูโบะสาวอ ตามทางหลวงเผ่นดิน
 หมายเลข 42  นาย วันฮูเซ็น อัส-สานาวี ผู้อยพมาจากบ้านสะนอยานยา จังหวัด ปัตตานี เป็นผู้สร้าง มัสยิดแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อ  พ..2167 เริ่ม สร้างคามุงใบลาน ต่อมาเปลี่ยนเป็นกระเบื้องดินเผา ลักษณะของ มัสยิด มีความแตกต่างจากมัสยิดทั่วไป  ส่วนเด่นที่สุดของอาคาร คือ เหนือหลังคา เหนือหลังคาจะมีฐานมารองรับจั่วบนหลังอยู่ชั้นหนึ่ง ส่วนหออาซาน ซึ่งมีลักษณะเป็นเก๋งจีนก็ตั้งอยู่บนหลังคาส่วนหลัง ส่วนช่องลม แกะเป็นลวดลายใบใม้ ดอกใม้สลับลายจีน หลังคาชั้นที่ 2 จะมีจั่วอยู่บน ชั้นหลังคาชั้นแรกมีฐานดอกพิกุลหงายรองรับจั่วหลังคาอีกชั้นหนึ่ง มีรูปแบบทรงไทย แบบหลังคาโบสถ์วัดทั่วๆไปรอบๆฐานดอกพิกุลหงาย จะแกะสลักเป็นลายเถาว์ ก้านมุมหลังคาด้านบนของอาคารทั้ง 2 หลัง ใช้ปูนปั้นป็นลายนกเถาว์ก้าน
นอกจากนั้นหมู่บ้าน ตือโละมาเนาะ ในอดีตยังเนผลิต คัมภีร์อัลกรุอ่าน ที่เขียนด้วยมือด้านข้างมัสยิด มีสุสานของชาวมุสลิม
ปัจจุบันมัสยิดนี้ยังใช้สถานที่ประกอบศาสนกิจของชาวมุสลิม

บริเวณภายในมัสยิด
                มัสยิด 300 ปี หรือ มัสยิด ตือโละมาเนาะ  เป็นมัสยิด มัสยิดแห่งหนึ่งที่เป็นสถานที่ประกอบ ศาสนกิจของชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลาม มใสยิดนี้ ซึ่งเป็นที่ยกย่องของคนทั้งประเทศ และมัสยิดนี้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวอีส่วนหนึ่งจังหวัดนราธิวาส

วันพฤหัสบดีที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2557



เรื่อง หาดนราทัศน์แสนงาม (ฉบับที่ 2)

          หาดนราทัศน์เป็นหาดที่มีความสวยงาม ริมหาดที่ร่มรื่นด้วยทิวสนมากมาย อีกทั้งยังมีลมพัดเย็นอีกด้วยและบรรยากาศก็เป็นส่วนตัว ทำให้หาดนราทัศน์เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวเมืองนราธิวาส และนักท่องเที่ยวที่มาเยือนเสมอ นอกจากหาดทรายขาวสะอาดน้ำทะเลใสเหมาะแก่การลงเล่นน้ำแล้วริมชายหาดนี้ยังมีหมู่บ้านชาวประมงตั้งกระจายเป็นระยะๆ ชายหาดช่วงที่อยู่ด้านหน้า หมู่บ้านจะมีเรือกอและจอดเรียงรายอย่างสวยงาม


          หาดนราทัศน์เป็นหาดที่มีความสวยงาม หาดยาวต่อเนื่องประมาณ5กิโลเมตรมองเห็นได้ไกลจนสุดลูกหูลูกตา จรดกับปลายแหลมปากแม่น้ำบางนราทางทิศใต้แต่กอ่นนั้นชายหาดนี้จะกว้างมากจนเมื่อการสัมปทานขุดทรายทำให้หาดนี้แคบลงกว่าแต่ก่อน อย่างไรก็ดีหาดนี้ก็ยังเป็นหาดที่ยังมีความสวยงามอยู่เช่นเดิม ริมหาดที่รมรื่นด้วยทิวสนมากมาย อีกทั้งยังมีลมพัดเป็นบรรกาศเป็นส่วนตัวทำให้หาดนราทัศน์เป็นสถานที่พักผ่อน ของชาวนราอีกด้วย นอกจากหาดทรายสวยแล้ว น้ำทะเลก็ใสเหมาะแก่การลงไปเล่นน้ำ ริมหาดก็จะมีหมู่บ้านชาวประมงตั้งอยู่ด้านหน้า จะมีเรือกอและจอดเรียงรายเป็นแถวอย่างสวยงาม  โดยเฉพาะเรือกอและที่มีการวาดลายอันวิจิตร ซึ่งเป็นวัฒนธรรมของชาวใต้ หาดนราทัศน์นี้ยังเป็นสถานที่ในการจัดงานประเพณีชักพระในช่วงเดือน11อีกด้วย นราธิวาสยังมีหาดที่น่าสนใจก็คือ อ่าวมะนาว อ่าวมะนาวเป็นอ่าวที่มีหาดทรายอยู่หลายช่อง อ่าวแต่ละช่วง กั้นด้วยแหลมหิน มีเนินเขาที่สามารถขึ้นไปชมทิวทัศน์ได้นับเป็นอ่าวที่มีความสวยงามที่สุดอีกหาดหนึ่ง ใกล้ๆกับอ่าวมะนาวมี น้ำตกสววค์อีกด้วยครับ
         
          หาดนราทัศน์จึงเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวเมืองนรา และ นักท่องเที่ยวมาโดยตลอด ถึงแม้หาดนี้จะแคบลงกว่าแต่ก่อนมาก หาดนี้ก็ยังเป็นหาดที่สวยงามและร่มรื่นทำให้สามารถคลายเครียดได้และผ่อนคลายแก่ชาวเมืองนราและนักท่องเที่ยวเสมอมา

เรื่อง  วิถีชีวิตของชาวนรา


             การดำเนินชีวิตของคนในจังหวัดนราธิวาส  และการประกอบอาชีพเป็นสิ่งสำคัญที่คนนราจะต้องทำเพื่อหาเลียงครอบครัวการดำเนินชีวิตของชาวนรา  ไม่ว่าจะเป็นคนมุสลิมไทยพุทธก็สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีความสุข
         
            วิถีชีวิตของคนนราแต่ดั้งเดิม เป็นชีวิตที่สงบเรียบง่าย เช่น  ตอนเช้าตรู่ชาวส่วนจะตื้นตั้งแต่ตี 2-3 ออกมากรีดยาง ตอนย่ำรุ่งอากาศเย็นสบาย น้ำยางจะไหลออกมามาก เมื่อก่อนชาวสวนยางพาราจะใช้ตะเกียงแก๊สเพื่อจะกรีดยางตอนเช้ามืด แต่นั่นคือสมัยก่อน ส่วนปัจจุบันนี้ชาวบ้านมักจะใช้ไฟฉายที่ตั้งบนหน้าผากแต่ภูมิปัญญาชาวบ้านของสมัยก่อนในภาคใต้สิ่งดี ๆ เหล่านั้นกำลังเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสวัตถุนิยมของสังคมปัจจุบันชาวนรา ส่วนมากจะประกอบอาชีพเกษตรกรรมคือ ทำนา ทำไร่ ทำสวน จับสัตว์น้ำและทำประมงชายฝั่งทะเล อาชีพประมงก็เป็นรายได้หลักของชาวเล คนที่อยู่ติดกับทะเล มักจะไปข้าขายไม่ว่าเป็นปลา หรืออื่น ๆ ที่จับได้จากท้องทะเล ยามว่างชาวนราชอบเลี้ยงนขา นกกรงหังจุก ไว้ฟังเสียงนกร้อง คนนราตอนเช้าคนเขาจะชักกรงนกขึ้นบนเสาสูงไห้นกเขาตากแดดชอบแขวนรังนกเพื่อไห้นกเขาอยู่อาศัยแขวนลูกลมกังหันลมไว้ฟังเสียงลมกังว่าวยาม ลมผัดและเล่นว่าวชนิดต่าง ๆ เมื่อลมมา ว่าวก็ขึ้นเมื่อน้ำหลากชาวบ้านก็จะไปดักจับปลาที่หนองน้ำ หรือลำคลองปลาจึงเป็นอาหารหลักของคนภาคใต้ สัตว์เลี้ยงก็เช่นกันคนนรามักจะเลี้ยงสัตว์ไว้ข้าง ๆ บ้านไม่ว่าจะเป็นเป็ด ไก่ แพะ วัว เลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ เพื่อเอาไข่ไปขาย หรือกินเอง ชาวบ้านที่มีที่ดินว่าง ๆ พวกเขาก็จะทำแปลงปลูกพืชผักสอนครัว เอาไว้กินเอง ทำไห้ประหยัดเงินในยามฝนตกพายุเข้า ชาวสวนยางพาราและชาวประมงก็ทำงานไม่ได้ ชาวสวนยางตอนเช้า ๆ เขาก็จะไปหาเห็ดป่า มาทำเมนูอาหาร เพื่อมารับประทาน ถ้าพายุเข้าชาวประมงก็ออกไปหาปลาไม่ได้เหมือนกัน ถ้าฤดูแล้งมา ชาวบ้านก็แห่ไปหากุ้ง หอย ปู ปลา ที่หนองหรือลำคลองก็เช่นกัน
                
           ชาวนราอยู่อย่างสงบเรียบร้อยและอยู่อย่างพอเพียงโดยสามารถอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข แม้ในเหตุการณ์ไม่สงบที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ชาวนราก็ยังคงใช้ชีวิตเหมือนที่เคยเป็นมา คือทำอาชีพทำสวน กรีดยาง และประมง ถือเป็นอาชีพที่สุจริต

เรื่อง ฟ้าคราม ทรายขาวและทะเลใส (ฉบับที่ 2 )



              ถ้าพูดถึงบรรยากาศที่แสนสบายและน่าอยู่คงเป็นที่ไหนไม่ได้นอกจากทะเลที่เต็มไปด้วยเม็ดทรายสีขาวและน้ำทะเลที่เต็มไปด้วยน้าสีเขียวอมฟ้าน้ำที่กำลังซัดเข้าสู่พืชดินสีขาวพร้อมกับบรรยากาศลมยามเย็นความสุขสบายกำลังเกินขึ้นที่ละเทและน้าทะเลสีเขียวอมฟ้าที่ใครๆไปเที่ยวแล้วได้ชมได้สัมผัสกับน้ำทะเลแล้วจะต้องเห็นความสวยงามของธรรมชาติที่ใครๆก็อยากจะสัมผัสกับมันธรรมชาติเป็นสิ่งสวยงามที่ใครก็ต่างปฏิเสธไม่ได้

              เมื่อตอนที่เราเครียดเราเหนื่อยล้าหรือตอนที่เราทุกข์เราอกหักจากความผิดหวังหรือพ่ายแพ้เราจะหาโอกาสไปเที่ยวที่ไหนที่แรกสถานที่ที่จะทำให้ผ่อนคลายขึ้นสดชื่นกับบรรยากาศนั้น ถ้าเป็นดิฉันก็คงจะต้องไปที่ทะเลเพราะทะเลมีน้ำทะเลที่สดใสและสวยงามบรรยากาศของน้ำทะเลทำให้เราผ่อนคลายแล้วหายเครียดนั้นไปได้เลยแม้ความทุกข์นั้นจะทำให้เราเสียใจและร้องให้จนกินไม่ได้นอนไม่หลับเมื่อเราได้โอกาสเที่ยวทะเลแล้วเราจะมีความสุขมากเหมือนกับเราได้อยู่กับคนที่เรารักน้ำทะเลสีเขียวอมฟ้าเปรียบเสมือนความสุขสบายบรรยากาศลมเป็นเย็นแสนสุขสบายอย่างเช่นทะเลนราธิวาสบ้านเราถ้าพูดถึงทะเลที่ค่อนข้างสะอาดและน่าสัมผัสยิ่งนักและน่าเที่ยวต้องไปทะเลหาดนราทัศน์และอ่าวมะนาวถ้าใครไดสัมผัสกับน้ำทะเลหาดนราทัศน์และอ่าวมะนาวกับทรายสีขาวต้องติดใจและรู้สึกถึงความสวยงามของธรรมชาติ หาดนราทัศน์และอ่าวมะนาวในจังหวัดนราธิวาสทำให้ใครต่างก็รู้จักกัน
                 ทะเลเป็นสิ่งสวยงามอย่างหนึ่ง หากเราไม่ช่วยกันอนุรักษ์ทะเล รักษาความสะอาดนี้ไว้แล้วใครกันที่จักอนุรักษ์น้ำทะเลนี้ ถ้าหากในโลกนี้ไม่มีน้ำแล้วเราจะอยู่ได้อย่างไรกัน มนุษย์เราจำเป็นจะต้องมีน้ำกินใช้ ดั้งนั้นเราจึงต้องอนุรักษ์ธรรมชาตินี้ไว้เพื่อที่เราใช้ประโยชน์จากน้ำทะเลนี้เพื่อการดำรงชีวิตนี้ต่อไป