วันพฤหัสบดีที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2557

ประเพณีแข่งเรือยาว

                                                                   
                                                                   ประเพณีแข่งเรือยาว 
                                                                         

ประเพณีแข่งเรือ เป็นการละเล่นที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวไทยในชนบทถิ่นที่อยู่อาศัยใกล้น้ำ ในช่วงเดือนสิบเอ็ดและเดือนสิบสอง เพื่อเป็นการฉลองเทศการออกพรรษาของชาวไทยพุทธเพราะจะจัดขึ้นหลังจากออกพรรษาแล้วในอดีตนั้นจะใช้เรือยาวในการแห่กฐินหรือผ้าป่าไปวัด และเพื่อความสนุกสนานและความเพลิดเพลิน จึงได้จัดแข่งขันเรือยาวขึ้นด้วยเป็นการสร้างความสามัคคี ให้เกิดขึ้นในหมู่บ้าน ชาวบ้านเว้นว่างจากการทำไร่ทำนา เป็นโอกาสที่หนุ่มสาวได้พบปะเกี้ยวพาราสีกัน ได้เห็นฝีไม้ลายมือของชายอกสามศอกด้เห็นความสามัคคีพร้อมเพรียงของเหล่าหนุ่มฝีพาย การแข่งเรือมักมีการเล่นเพลงเรือ เพลงปรบไก่ เพลงครึ่งท่อน และสักวาโต้ตอบกันระหว่างหนุ่มสาวหลังการแข่งเรือ เป็นกรใช้ฝีปากไหวพริบ และความเป็นเจ้าบทเจ้ากลอน โต้ตอบเกี้ยวพาราสีกัน ได้แสดงความสามารถทั้งหญิงและชาย ผู้ดูมีทั้งอยู่บนตลิ่ง และที่พายเรือกันไปเป็นหมู่ ต่างสนุกสนานกันทั้วหน้า
                                                                                            



ประเพณีแข่งเรือ เป็นประเพณีหน้าน้ำของคนไทย เป็นการละเล่นในยามน้ำหลากที่สืบทอดมาแต่โบราณ และมักมีการแข่งเรือควบคู่ไปกับการทำบุญ ปิดทอง ไหว้พระและงานกฐิน ช่วยสร้างบรรยากาศให้งานบุญครึกครื้นขึ้น  เรือแข่งที่แถบชาวบ้านลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ท่าจีน เรือที่ใช้แข่งเรียกเรือยาว ซึ่งทำจากท่อนซุงทั้งต้น การต่อเรือยาวต้องใช้ความรู้ ความชำนาญมาก จึงจะได้เรือที่สวยและแล่นได้เร็วเวลาพาย
ปัจจุบันประเพณีแข่งเรือยังมีเหลืออยู่บ้างไม่มากเหมือนสมัยก่อน เพราะวิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงไป แต่เราไม่ค่อยจะได้ยินเสียงเพลงเห่เรือของฝีพายและของชาวบ้าน กลับได้ยินเพลงลูกทุ่ง แทน เพราะขาดผู้รู้คุณค่าและความสนใจที่จะรักษาไว้ จึงไม่ได้สนับสนุนผู้มีความรู้ความสามารถในการเห่เรือ ให้สืบทอดประเพณีนี้ต่อมา เป็นที่น่ายินดีที่หน่วยงานราชการ และเอกชนบางแห่ง เล็งเห็นคุณค่าของ ประเพณีแข่งเรือ จึงได้จัดให้มีการแข่งเรือขึ้นในหลายๆท้องถิ่นที่อยู่ริมน้ำ ซึ่งประสบผลสำเร็จได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาติมากมาย อีกทั้งการสร้างสีสันและความสนุกสนานให้กับการแข่งเรือคือผู้พากย์ ที่พากย์กันแบบไม่หายใจหายคอ จนเป็นเอกลักษณ์ในการแข่งเรืออีกอย่างหนึ่งในยุคสมัยนี้
                                                                 



                                         


2 ความคิดเห็น:

  1. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  2. ตรวจผลงานครั้งที่ ๑ ได้ ๑๐ คะแนน (คะแนนเต็ม ๓๐)
    ครูขอให้นักเรียนไปศึกษาเกี่ยวกับการแข่งเรือยาวใหม่ว่าเป็นประเพณีของสามจังหวัดชายแดนใต้หรือไม่ เพราะเท่าที่ครูอ่านยังไม่เห็นว่าเป็นประเพณีของบ้านเราเหมือนที่ครูได้กำหนดในคำสั่งของใบงาน ในส่วนภาพประกอบสวยงามและน่าสนใจดีค่ะ สิ่งที่นักเรียนต้องปรับปรุง คือ
    ๑. ตัวอักษรมีสีสันมากเกินไป น่าจะทำให้เป็นสีดำหรือใช้เพียงสีใดสีหนึ่งเท่านั้น
    ๒. ควรเขียนให้ถูกต้องตามรูปแบบการเขียนเรียงอันประกอบด้วย คำนำ เนื้อเรื่อง และสรุป
    ๓. นักเรียนควรเขียนด้วยสำนวนภาษาของตนเอง

    ตอบลบ