วันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง


      เนื่องด้วยจังหวัดนราธิวาสเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำมีน้ำขังตลอดปีเรียกว่า ดินพรุ ซึ่งมีอยู่ในจังหวัดนราธิวาสและจังหวัดใกล้เคียงถึงประมาณ 300,000 ไร่ ดินพรุซึ่งเป็นดินที่มีคุณภาพต่ำ แม้ระบายน้ำออก ก็เพาะปลูกไม่ได้ผลดีเพราะดินมีสารประกอบไพไรท์ ทำให้เกิดกรดกำมะถัน เมื่อดินแห้งทำให้เป็นดินเปรี้ยวจัดเป็นอันตรายต่อการเจริญเติบโตของพืช ทำให้ราษฎรที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมไม่ได้ผล พื้นที่จำนวนมากถูกทิ้งให้รกร้างและเปล่าประโยชน์
      พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริให้ก่อตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯแห่งนี้ ขึ้นเมื่อพุทธศักราช 2524 โครงการตั้งอยู่ระหว่างบ้านพิกุลทอง บ้านโคกสยา ตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นศูนย์รวมกำลังของเจ้าหน้าที่ด้านการเกษตร สังคมและส่งเสริมการศึกษามาอยู่ด้วยกัน เพื่อให้ความรู้และอนุเคราะห์ด้านวิชาการให้แก่ประชาชนในการประกอบอาชีพและการพัฒนาตนเอง ที่อยู่ในจังหวัดนราธิวาสและจังหวดใกล้เคียง ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองแห่งนี้ มีเป้าหมายที่สำคัญ คือ ด้านการวิจัยเพื่อปรับปรุงสภาพดินพรุ ให้สามารถใช้ประโยชน์ได้ในด้านการเกษตรกรรมให้ได้มากที่สุดและมีการศึกษาเกี่ยวกับอุตสาหกรรมขนาดเล็ก แบบครบวงจรในเรื่องยางพาราและปาล์มน้ำมัน อันเนื่องเป็นพืชเศรษฐกิจของภาคใต้ด้วย ซึ่งโครงการนี้เป้นในลักษณะผสมผสานมีหน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการนี้เป็นจำนวนมาก เช่น กรมพัฒนาที่ดิน กรมป่าไม้ กรมชลประทาน       

กรมวิชาการเกษตร กรมปศุสัตว์ กรมประมง กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กรมพัฒนาชุมชน สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางพาราและอื่นๆอีกด้วย ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองได้ให้ประโยชน์แก่ประชาชนได้อย่างดี ทำให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองเป็นแหล่งรียนรู้ของประชาชนและนักเรียน นักศึกษา ในจังหวัดนราธิวาสและจังหวัดใกล้เคียง

      ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองเป็นโครงการที่ดีที่ประชาขนได้รับ ทำให้ประชาชนมีรายได้และสามารถประกอบอาชีพเกษตรกรรมได้ดี ประชาขนมีความเป็นอยู่ที่ดีและสามารถพัฒนาตนเองได้
















2 ความคิดเห็น:

  1. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  2. ตรวจผลงานครั้งที่ ๑ ได้ ๒๓ คะแนน (คะแนนเต็ม ๓๐)
    รูปภาพประกอบสอดคล้องกับเนื้อหาที่นักเรียนต้องการนำเสนอดีค่ะ ถ้าต้องการได้คะแนนมากกว่านี้สิ่งที่นักเรียนควรปรับปรุงได้แก่
    ๑. ตัวอักษรมีสีสันมากเกินไป ทำให้อ่านแล้วลายตา ควรปรับให้เป็นสีเดียวกันทั้งหมด และอาจจะใช้สีอื่น ๆ เพื่อเน้นเฉพาะข้อความสำคัญ
    ๒. ย่อหน้าส่วนที่เป็นคำนำ เนื้อเรื่อง และสรุปให้ชัดเจน
    ๓. เพิ่มเติมส่วนที่ป็นเนื้อเรื่องใจมีความยาวมากขึ้น
    ๔. เขียนด้วนสำนวนภาษาของนักเรียนเอง
    ๕. ปรับขนาดรูปภาพให้เล็กลง และจัดวางให้สวยงาม

    ตอบลบ